เมนูอาหาร เบาหวาน 7 วัน หลายคนที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวานหรือมีญาติที่เป็นโรคนี้อาจมีคำถามว่าอาหารผู้ป่วยเบาหวานนั้นหน้าตาเป็นแบบไหน อาหาร คนเป็น เบาหวาน ไม่ควรกิน คนเป็นเบาหวานจะต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอย่างไรบ้างเมื่อต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แล้วจริงไหมที่ต้องเน้นอาหารรสจืดหรือจำใจบอกลาของโปรดบางอย่าง? ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการที่พรีโมแคร์พร้อมไขคำตอบทุกข้อสงสัยให้คุณในบทความนี้
เริ่มต้นวางแผน เมนูอาหาร เบาหวาน 7 วัน ผู้ป่วยเบาหวานอย่างไร?
เมนูอาหาร เบาหวาน 7 วัน ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อุดมด้วยสารอาหาร เน้นผักผลไม้ และธัญพืชต่างๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่สูง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นหลักการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่คนส่วนใหญ่ควรเลือกรับประทานกันอยู่แล้ว เพียงแต่สำหรับคนที่เป็นเบาหวานจะมีการจำกัดปริมาณที่เหมาะสม และอาจต้องรับประทานอย่างเป็นเวลาในทุกวัน
นอกจากนี้ อาหารของคนเป็นเบาหวานก็ใช่ว่าจะต้องมีรสจืดชืด หรือต้องบอกลาอาหารสุดโปรดที่แพทย์สั่งงดไปตลอด ผู้ป่วยยังคงสามารถรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันได้อยู่ เมนูอาหารพิชิตเบาหวาน เพียงแต่ต้องลดสัดส่วนให้น้อยลงหรือรับประทานนานๆ ครั้ง ดังนั้น หากยังอยากกินของชอบหรือต้องการวางแผนรับประทานอาหารเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบไม่ทรมานใจเกินไป ก็สามารถขอคำแนะนำจากแพทย์และนักโภชนาการได้ทุกเมื่อ
อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกกิน
- ผักผลไม้ โดยเน้นรับประทานให้หลากชนิดและหลากสีสันเพื่อคุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วน สำหรับผลไม้ควรเลือกที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ฝรั่ง แก้วมังกร แอปเปิล ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดช้ากว่าผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลสูง และอย่าลืมว่าการดื่มน้ำผลไม้ไม่สามารถทดแทนการรับประทานผักผลไม้ทั้งลูกในด้านกากใยและสารอาหารได้
- ธัญพืชที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต บัควีต ขนมปังไม่ขัดสี ขนมปังโฮลวีต อาหารเช้าซีเรียลแบบโฮลวีต ควินัว เส้นก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นพาสต้าไม่ขัดสี
- เนื้อสัตว์ไม่ติดมันที่มีคอเลสเตอรอลต่ำ เช่น ไก่ ปลา ส่วนตัวของกุ้ง และไข่
- ไขมันดีจากถั่วต่างๆ และเมล็ดธัญพืช เช่น เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน งา รวมถึงน้ำมันมะกอก น้ำมันปลา อะโวคาโด และปลาต่างๆ โดยเฉพาะแซลมอน ทูน่า แมกเคอเรล อาหารที่อุดมด้วยโปรตีนชั้นดี เช่น ไข่ ถั่ว โยเกิร์ตที่ไม่มีน้ำตาล นมจืด และผลิตภัณฑ์จากนมอื่นๆ ที่มีไขมันและน้ำตาลน้อย
อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรเลี่ยงกิน
- อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารจานด่วน ของทอด ของหวาน
- อาหารที่มีเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง
- ธัญพืชที่ผ่านการขัดสี ได้แก่ ขนมปังขาว อาหารเช้าซีเรียลแบบน้ำตาลสูง ข้าวขาว รวมถึงเส้นก๋วยเตี๋ยวและเส้นพาสต้าที่ผ่านการขัดสี
- เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ใหญ่จำพวกเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง หมูยอ แหนม
- เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ นมเปรี้ยว ชานมไข่มุก น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง
ตัวอย่างเมนูอาหารคนเป็นเบาหวาน
- ข้าวต้มกุ้ง/ข้าวต้มปลา/โจ๊กหมู 1 ถ้วย
- แกงส้มปลากะพงผักรวม/แกงจืดตำลึงเต้าหู้หมูสับ พร้อมข้าวกล้อง/ข้าวสวย 1 ทัพพี
- ผัดผักเห็ด/บร็อคโคลีผัดเห็ดหอม พร้อมข้าวกล้อง/ข้าวสวย 1 ทัพพี
- บุกผัดซีอิ๊วคะน้าไก่
- ลาบเห็ด/ส้มตำไทย, ไก่ย่างไม่ติดหนัง 1 ชิ้น พร้อมข้าวเหนียว 1/2 ถ้วย
- สลัดผัก 1 จาน ใส่น้ำมันมะกอกแทนน้ำสลัดครีม
- เพิ่มผลไม้เล็กน้อยในแต่ละมื้อ เช่น ส้ม/แอปเปิลผลเล็กๆ 1 ผล, แคนตาลูปหั่นชิ้นเล็ก 6-8 ชิ้น, กล้วยหอม/ฝรั่ง/แก้วมังกร 1/2 ลูก, ส้มโอ 2-3 กลีบ
คุมเบาหวาน ต้องวัดค่าดัชนีน้ำตาลในอาหารไหม?
อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง (Glycemic Index) ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงไปด้วย การรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำจึงเป็นอีกวิธีที่บางคนเลือกใช้เพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือด อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการควบคุมน้ำตาลในเลือดโดยใช้ค่าดัชนีน้ำตาลยังมีความคลุมเครืออยู่ในปัจจุบัน เพราะค่าดัชนีน้ำตาลไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าอาหารชนิดนั้นดีต่อสุขภาพหรือไม่
และหากต้องคอยดูตารางดัชนีน้ำตาลของอาหารต่างๆ ตลอดเวลา อาจทำให้การวางแผนอาหารของผู้ป่วยเบาหวานยุ่งยากยิ่งขึ้น นอกจากนี้มีงานวิจัยที่ชี้ว่าการรับประทานโดยเน้นอาหารที่มีประโยชน์ให้มาก และลดอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพให้น้อยนั้นเพียงพอแล้ว ซึ่งไม่เพียงช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงจากการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย
เป็นเบาหวานต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลาไหม?
ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานยารักษาโรคเบาหวานหรืออินซูลินบางชนิดนั้นควรต้องรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและรับประทานให้ครบทั้ง 3 มื้อ ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำเกินไปได้ แต่ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลินพร้อมมื้ออาหารนั้นอาจมีเวลาการรับประทานอาหารที่ยืดหยุ่นได้ ผู้ป่วยควรสอบถามแพทย์ให้แน่ใจเพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมกับอาการของตนเอง
ต้องจำกัดปริมาณการกินแค่ไหน?
การรับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและควบคุมน้ำหนัก ซึ่งในส่วนนี้ทีมแพทย์และนักกำหนดอาหารจะเป็นผู้ช่วยหาคำตอบว่าควรรับประทานแค่ไหนและควรได้รับแคลอรี่เท่าไรในแต่ละวัน โดยคำนึงตามสภาวะสุขภาพเฉพาะตัวของแต่ละคน เช่น ในกรณีที่มีน้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน อาจต้องวางแผนปรับอาหารโดยเน้นลดน้ำหนักร่วมด้วยเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคอื่นๆ ที่อาจตามมา การไปพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง